Salient is an excellent design with a fresh approach for the ever-changing Web. Integrated with Gantry 5, it is infinitely customizable, incredibly powerful, and remarkably simple.
Downloadในปัจจุบันภาวการณ์สูงวัยของประชากรได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมไทยชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ จำนวนเด็กเกิดลดลงอย่างรวดเร็วและอายุของคนไทยได้ยืนยาวขึ้นทำให้โครงสร้างอายุของประชากรไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงเป็นประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของคนในประเทศในอนาคตจากตัวเลขการคาดประมาณประชากรของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แสดงให้เห็นว่า อีก 10 ปีข้างหน้าในปี 2566 ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ในประเทศไทยจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 14.1 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21 ของประชากรทั้งหมด เท่ากับว่าประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” และนับจากวันนี้ไปอีกเพียง 20 ปี ในปี 2576 ประเทศไทยจะมีประชากรทั้งหมด ในขณะเดียวกันนั้น สัดส่วนประชากรวัยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ก็จะลดลงเรื่อย ๆ จากที่มีอยู่ร้อยละ 19 ในปี 2556 จะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมด ในปี 2576 จึงกล่าวได้ว่าในเวลาอีกเพียงไม่ถึง 20 ปีข้างหน้าปี ประเทศไทยก็จะกลายเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” แล้วเมื่อมีประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากถึงหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งหมดดังรูปภาพ
และเพื่อเป็นการสนองตอบต่อพระราชบัญญัติการศึกษา 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในพระราชบัญญัตินี้หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา มาตรา 12 นอกเหนือจากรัฐ เอกชน ให้บุคคล ครอบครัวองค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 12 นี้คือหลักสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางที่รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและสอดคล้องกับแนวทางของยูเนสโกที่ประเทศว่า “ทุกคนเพื่อการศึกษา”และหมวดที่ 3 ว่าด้วยระบบการศึกษาในมาตราที่ 15 การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
จึงทำให้โรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝายได้มีการดำเนินกิจกรรมการดำเนินงานโดยการจัดทำหลักสูตรการศึกษาและโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการศึกษาผู้สูงวัยในด้านภูมิปัญญาไทย พื้นบ้าน แห่งล้านนาภายใต้ของกิจกรรมข๋วงผญา กิจกรรมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านล้านาประเพณี 12 เดือน กิจกรรมสืบสานภูมิปัญญาจากคนบ่าเก่าเล่าสู่คนใหม่ของนักเรียนผู้สูงอายุที่มีความหลากหลายทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติโดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกเครือข่ายภาคีร่วมกันจัดการศึกษาให้กับนักเรียนผู้สูงอายุในด้านของวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของชาวล้านนาไทย ให้คงอยู่และสามารถสืบทอดและสืบสานให้กับลูกหลานไทยต่อไปในอนาคต
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนผู้สูงอายุในตำบลสันกลางได้เรียนรู้ สืบทอด สืบสาน และพัฒนาภูมิปัญญาไทย พื้นบ้าน ล้านนา โดยการจัดกิจกรรมข๋วงผญาให้กับนักเรียนผู้สูงอายุที่เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนวัดหัวฝายที่ได้เข้ารับการเรียนตามหลักสูตรของโรงเรียนผู้สูงอายุทั้ง 9 ประเภท นำมาหลอมรวมในการจัดกิจกรรมข๋วงผญา
2. เพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบทอด สืบสาน ปราชญ์ชาวบ้านภูมิปัญญาไทยให้คงอยู่ต่อไปในศาสตร์แขนงวิชาต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านล้านนาประเพณี 12 เดือน
3. เพื่อเป็นการยกระดับศักยภาพของนักเรียนผู้สูงอายุในตำบลสันกลางในด้านภูมิปัญญาไทย พื้นบ้าน ล้านนาในการเป็นผู้ถ่ายทอด เผยแพร่ภูมิปัญญาไทย พื้นบ้าน ล้านนา โดยปราชญ์ชาวบ้านและนักเรียนผู้สูงอายุที่มีความรู้ในด้านต่าง ๆ แก่เด็ก เยาวชน ประชาชนและผู้ที่สนใจศึกษาเรียนรู้ ในกิจกรรมสืบสานภูมิปัญญาจากคนบ่าเก่าเล่าสู่คนใหม่
วิธีดำเนินงาน
1. วางแผนการจัดทำหลักสูตรและกิจกรรมการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝายที่ส่งเสริมในด้าน เพื่อวางกรอบในการดำเนินกิจกรรมเนื้อหาในหลักสูตร/1.พระพุทธศาสนา(ศาสนพิธีต่าง ๆ)2.สุขภาพร่างกายจิตใจ ฟันกายภาพบำบัด จิตวิทยา รำไทเก็ก รำวงย้อนยุค กีฬา/3.สังคม(กฎหมาย วัฒนธรรม จราจร)/4.ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ล้านนา /5.สมุนไพร(ทำลูกประคบ ยาหม่อง น้ำมันไพร)/6.อาชีพ(การทำดอกไม้ประดิษฐ์,การนำวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์,ตุ๊กตาการบูร,การทำขนมไทย,ขนมพื้นบ้าน,ทำของที่ระลึก,ทำผ้าพันคอทำผ้าเช็ดหน้า,เหรียญโปรยทาน/7.ภาษาไทย,ภาษาอังกฤษ,ภาษาจีน,ภาษาเวียดนาม(ฟังพูดอ่านเขียน)
2. จัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนโดยการจัดทำเป็นกิจกรรมดังต่อไปนี้ กิจกรรมข่วงผญา โดยมีทั้งหมด 21 ซุ้มดังนี้
3. จัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนโดยการจัดทำเป็นกิจกรรมดังต่อไปนี้ กิจกรรมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านล้านนา โดยมีทั้งหมด 12 เดือนดังนี้ เดือน 7 ตานตุงปีใหม่เมือง แห่ไม้ค้ำสหลี ดำหัวคนเฒ่า เดือน 8 ปอยเป็กตุ๊ บวชพระ เดือน 9 ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่าเจ้านาย เดือน 10 เข้าพรรษา เดือน 11 หว่านกล้าปลูกนา เดือน 12 ตานก๋วยสลาก เดือน เกี๋ยง บุญทอดกฐิน เดือน ยี่ ประเพณียี่เป็ง ตั้งธรรมหลวง เดือน 3 เกี่ยวข้าว ทำสวน เดือน 4 ตานข้าวใหม่ เดือน 5 ปอยหลวง เดือน 6 สืบชะตา ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาง
4. มีการจัดกิจกรรมสืบสานปัญญาคนบ่เก่าเล่าสู่คนใหม่โดยให้นักเรียนผู้สูงอายุที่เข้ารับการศึกษาได้เป็นวิทยากรเพื่อสอนในกิจกรรมเหล่านี้ ทำดอกไม้จากใบเตย ,การถักผ้าพันคอจากบล๊อกไม้ ,สานงูกินเขียดจากใบลาน ,ประดิษฐ์ตุงไส้หมู, การทำต้นเทียนผึ้งสำหรับใช้ในงานพิธีต่าง ๆทางพระพุทธศาสนา, การสานตะกร้าทางมะพร้าว, การทำตะแหลว 7 ชั้น, การทำซุ้มจากทางมะพร้าว การทำที่รองครกรองเขียง ,การทำลูกประคบ, น้ำมนต์ น้ำมันไพร จากสมุนไพร, การฟ้อนเล็บ สาวไหม ,การทำขนมดอกจอก
ระยะเวลาดำเนินการ ตลอดปีงบประมาณ 2557
งบประมาณที่ใช้ในการจัดทำ
1. จากท่านพระครูปิยวรรณพิพัฒน์
2. จากผู้มีจิตบริจาคทั่วไป
3. การจำหน่ายสมุนไพร ลูกประคบ สินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ทางโรงเรียนผู้สูงอายุได้จัดจำหน่าย
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.นักเรียนผู้สูงอายุในตำบลสันกลางได้เรียนรู้ สืบทอด สืบสาน และพัฒนาภูมิปัญญาไทย พื้นบ้าน ล้านนา โดยการจัดกิจกรรมข๋วงผญาให้กับนักเรียนผู้สูงอายุที่เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนวัดหัวฝายเพื่อเป็นการนำผลจากจากการนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนการสอนในชั้นเรียน
2.ประเพณี 12 เดือนหรือ(พิพิธภัณฑ์ล้านนา)ได้รับการอนุรักษ์ สืบทอด สืบสาน ปราชญ์ชาวบ้านภูมิปัญญาไทยให้คงอยู่ต่อไปในศาสตร์แขนงวิชาต่าง ๆและเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านล้านนา
3.นักเรียนผู้สูงอายุในตำบลสันกลางมีศักยภาพของในด้านภูมิปัญญาไทย พื้นบ้าน ล้านนาในการเป็นผู้ถ่ายทอด เผยแพร่ภูมิปัญญาไทย พื้นบ้าน ล้านนา โดยปราชญ์ชาวบ้านและนักเรียนผู้สูงอายุที่มีความรู้ในด้านต่าง ๆ แก่เด็ก เยาวชน ประชาชนและผู้ที่สนใจศึกษาเรียนรู้